เมนู

11. อรรถกถามุตตาเถรีคาถา


คาถาว่า สุมุตฺตา สาธุ มุตฺตามฺหิ เป็นต้น เป็นคาถาของพระ-
เถรีชื่อมุตตา.
พระเถรีชื่อมุตตาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตรสาวของ
พราหมณ์ยากจนในโกศลชนบท เวลาเจริญวัย บิดามารดาได้ให้เธอแก่
พราหมณ์ค่อมคนหนึ่ง เธอไม่ชอบครองเรือนกับพราหมณ์ค่อมนั้น ขออนุญาต
เขาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา จิตของเธอพล่านไปในอารมณ์ภายนอก เธอข่มจิต
นั้นกล่าวคาถาว่า เราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ เป็นต้น ขวนขวาย
วิปัสสนาบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวไว้ในอปทานว่า
พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ มีจักษุ
ในธรรมทั้งปวง ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ เสด็จ
เข้าบุรีเพื่อบิณฑบาต เมื่อพระศาสดาพระองค์นั้น
เสด็จมา ชาวพระนครเหล่านั้นทั้งหมดต่างร่าเริงยินดี
มาร่วมกันเกลี่ยทราย กวาดถนน ยกต้นกล้วย หม้อ
มีน้ำเต็ม ธง เอาธูป จุรณ และพวงดอกไม้สักการะ
พระศาสดา ข้าพเจ้ามอบถวายมณฑป นิมนต์พระผู้
นายกวิเศษถวายมหาทาน ปรารถนาพระสัมโพธิญาณ
พระมหาวีระ พระนามปทุมุตตระผู้นำเหล่า-
สรรพสัตว์ ผู้เป็นอัครบุคคล ทรงอนุโมทนาแล้วทรง

พยากรณ์ว่า เมื่อล่วงไปแสนกัป จักมีภัทรกัป เธอได้
ความสุขในภพน้อยใหญ่ทั้งหลายแล้วจักบรรลุพระโพ-
ธิญาณ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งชายและหญิง ผู้กระทำ
หัตถกรรม ทั้งหมดจักประชุมพร้อมกันในอนาคตกาล
ชนเหล่านั้นจักเป็นบริจาริกาคนรับใช้ของเธอ ในเทว-
พิภพที่เธอเกิด ด้วยวิบากแห่งธรรมนั้น และด้วยความ
ตั้งใจมั่น ย่อมเสวยทิพยสุขและมนุษย์สุขอันนับไม่ได้
พวกเราท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ตลอดกาลนาน
จากนี้ไปแสนกัป ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้สุขุมาลชาติในมนุษยโลก
และเทวโลก ข้าพเจ้าได้รูป โภคะ ยศ อายุ เกียรติ
และสุขที่น่ารัก ทั้งหมดเป็นความถึงพร้อมแห่งกุศล-
กรรมที่ทำติดต่อกัน.
ครั้นถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูล
พราหมณ์ มีมือเท้าละเอียดอ่อนในนิเวศน์ที่น่ารื่นรมย์
ตลอดกาลทั้งปวง ข้าพเจ้าไม่เห็นสิ่งที่ไม่งามบนปฐพี
ข้าพเจ้าไม่เห็นภาคพื้นที่เป็นโคลนเลนไม่สะอาด ใน
กาลไหน ๆ ข้าพเจ้า เผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า
ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน พระเถรีได้กล่าวคาถานี้ว่า
ราเป็นผู้พ้นด้วยดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ ด้วย
ความหลุดพ้นจากความค่อม 3 อย่างคือ ค่อมเพราะ
ครก 1 ค่อมเพราะสาก 1 ค่อมเพราะสามี 1 เป็น

ผู้พ้นแล้วจากความเกิดและความตาย ถอนตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมุตฺตา ได้แก่ พ้นแล้วด้วยดี. บทว่า
สาธุ มุตฺตามฺหิ ความว่า เป็นผู้พ้นดี คือโดยชอบนั่นเอง ก็เป็นผู้พ้นด้วย
ดี เป็นผู้พ้นโดยชอบ จากอะไร ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ตีหิ ขุชฺเชหิ
มุตฺติยา
ความว่า ด้วยความหลุดพ้นจากความคด 3 อย่าง. บัดนี้เมื่อจะแสดง
ความคดเหล่านั้นโดยย่อ พระเถรีจึงกล่าวว่า ค่อมเพราะครก 1 ค่อมเพราะ
สาก 1 ค่อมเพราะสามี 1 ดังนี้. ด้วยว่าเมื่อใส่ข้าวเปลือกในครก กลับข้าว
ไปมา และตำอยู่ด้วยสาก ย่อมต้องก้มหลังดังนั้น ท่านจึงกล่าวเหตุทั้งสองว่า
ค่อม เพราะเป็นเหตุให้ทำความค่อม อนึ่ง สามีของพระเถรีนั้นเป็นคนค่อม
ทีเดียว.
บัดนี้ พระเถรีกล่าวความพ้นจากความค่อม 3 อย่าง เป็นการแสดง
ความพ้นใด เมื่อแสดงความพ้นนั่นแหละ พระเถรีกล่าวว่า เป็นผู้พ้นแล้วจาก
ความเกิดและความตาย แล้วกล่าวถึงเหตุในเรื่องนั้นว่า ถอนตัณหาเป็นเครื่อง
นำไปสู่ภพได้แล้ว. เนื้อความของบทนั้นว่า ข้าพเจ้ามิได้พ้นเพียงความค่อม 3
อย่างเท่านั้น ที่แท้ข้าพเจ้าพ้นแม้จากความเกิดและความตายทั้งหมด เพราะ
ตัณหาตัวที่เป็นเนตติคือนำไปสู่ภพทั้งหมด ข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้วด้วยมรรคอัน
เลิศ (คืออรหัตมรรค)
จบ อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

12. ธัมมทินนาเถรีคาถา


[413] ผู้ที่เกิดฉันทะ มีที่สุด พึงถูกต้องพระ-
นิพพานด้วยใจ ผู้ที่มีจิตไม่ปฏิพัทธ์ ในกามทั้งหลาย
ท่านเรียกว่า มีกระแสในเบื้องบน.

จบ ธัมมทินนาเถรีคาถา

12. อรรถกถาธัมมทินนาเถรีคาถา


คาถาว่า ฉนฺทชาตา อวสายี เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ
ธัมมทินนา.
เล่ากันว่า พระเถรีชื่อ ธัมมทินนา นั้น ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า
พระนาม ปทุมุตตระ เป็นผู้อาศัยคนอื่นเขาเลี้ยงชีพอยู่ในกรุงหังสวดี ถวาย
ทานที่มีบูชาสักการะเป็นเบื้องต้น แต่พระอัครสาวกผู้ออกจากนิโรธ บังเกิด
ในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปุสสะ เธออยู่ในเรือนคนงานของ
พี่ชายต่างมารดาของพระศาสดา เมื่อสามีพูดพาดพิงถึงทานว่า เธอจงให้หนึ่ง
ส่วน ดังนี้ นางให้สองส่วน ทำบุญเป็นอันมาก ในกาลของพระกัสสปพุทธ-
เจ้า เธอถือปฏิสนธิในพระตำหนักของพระเจ้ากาสีพระนาม กิงกิ เป็นคน
หนึ่งภายในพี่น้องหญิง 7 คน ประพฤติพรหมจรรย์สองหมื่นปี ท่องเที่ยวอยู่
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดใน
เรือนตระกูลในกรุงราชคฤห์ เจริญวัยแล้วไปสู่เรือนของวิสาขเศรษฐี.